การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย

                       การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีพัฒนาการที่สมวัย สามารถดูแลตนเอง
อย่างง่ายๆในชีวิตประจำวันได้ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างเป็นสุข โดยครูผู้สอนมีการวางแผน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ บูรณาการแนวคิดการจัดการเรียนการสอนหลากวิธี ได้แก่ การใช้สมองเป็นฐาน (brain based learning) การพัฒนาทักษะสมองเพื่อความสำเร็จในชีวิต (executive functions) และการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (project based learning)

1. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะกับช่วงวัย 

เวลา กิจกรรม
7.20 – 7.50 รับเด็กเป็นรายบุคคล
8.00 – 8.10 เคารพธงชาติ สวดมนต์
8.10 – 8.30 สำรวจการมาโรงเรียน สนทนา ตรวจสุขภาพ
8.30 – 9.00 กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
9.00 – 9.30 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรียนเนื้อหาตามหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ เช่น หน่วยตัวเรา หน่วยหนูน้อยไปโรงเรียน เป็นต้น
9.30 – 10.00 กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่นวาดภาพ ระบายสี ฉีกตัดปะ ภาพกิจกรรมเสรี  เป็นการเล่นตามมุมประสบการณ์ที่ครูจัดขึ้นภายในห้อง เช่น มุมบล็อก มุมบ้าน มุมนิทาน
10.00 – 10.30 กิจกรรมกลางแจ้ง คือกิจกรรมที่จัดนอกห้องเรียน เช่น เรียนว่ายน้ำ 
เล่นเครื่องเล่นสนาม ขี่จักรยาน  สเก๊ตคาร์
10.30 – 10.50 พัก เข้าห้องน้ำ ล้างมือ ล้างเท้า
10.50 – 11.30 รับประทานอาหารกลางวัน
11.30 – 12.00 อาบน้ำ  แปรงฟัน  ปูที่นอน
12.00 – 14.00 นอนกลางวัน
14.00 – 14.20 เก็บที่นอน ล้างหน้า
14.20 – 14.30 ดื่มนม
14.30 – 14.50 ทบทวนบทเรียน
14.50 – 15.00 เกมการศึกษา
15.00 – 15.45 ผู้ปกครองรับกลับบ้าน

     
    2. ครูประจำชั้นและครูพี่เลี้ยงคอยดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด
          ระหว่างวัน นักเรียนอนุบาลจะมีครูประจำชั้นและครูพี่เลี้ยง อยู่ดูแลตลอดเวลา
พัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียนจะถูกสอดแทรก ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้แก่
กิจกรรมเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์
นอกจากนี้   นักเรียนจะได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สามารถ
แต่งตัวเองได้ ทานอาหารเอง เก็บที่นอนและข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวได้เอง เรียนรู้ที่
จะอดทนและรอคอยที่จะต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
    กิจกรรมเคลื่อนไหวและเข้าจังหวะ  
     
   
             กิจกรรมเสริมประสบการณ์                   ทานอาหารเรียนรู้ดูแลตนเอง                          เก็บที่นอนเองได้
 
    3.สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายนอกห้องเรียน
                   นอกจากกิจกรรมประจำวันในห้องเรียนแล้ว ภายในโรงเรียนยังมีการจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียน
ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ห้องสมุด โรงยิมเนเซียม สนามเด็กเล่น ฯลฯ
 
                                                                      
                                                                                 สนามเด็กเล่น                                      โรงยิมเนเซี่ยม
                                                                      
                                                                                  สระว่ายน้ำ                                            ห้องดนตรี
                                                                      
                                                                                ห้องเรียนคอมพิวเตอร์                              ห้องสมุดปฐมวัย